โคมไฟภายนอก ติดไฟนอกบ้าน โคมไฟในสวน ควรเลือกอย่างไร

หลอดไฟแตก หลอดไฟค้าง อันตรายจากหลอดไฟที่หลายคนไม่รู้

หากพูกถึงอันตรายที่มาจากหลอดไฟนั้น หลายๆ ท่านอาจยังไม่ทราบว่าภายในหลอดไฟต่างๆ นั้นมีสารปรอทบรรจุอยู่ จะเกิดอันตรายก็ต่อเมื่อหลอดเหล่านั้นแตกเท่านั้น แต่ถ้าหลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่แตกก็ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ เนื่องจากสารปรอทที่อยู่ในหลอดไฟนั้นเมื่อหลอดไฟแตก การที่สารปรอทจะเข้าสู่ร่างกายได้นั้นมีทั้งทางปาก การสูดเอาผงหรือไอปรอทเข้าสู่ปอดเพราะปรอทสามารถระเหยกลายเป็นไอได้ และยังสามารถเข้าทางผิวหนังจากการสัมผัสทำให้เกิดการระคายเคืองได้นั่นเองค่ะ

หลอดไฟ คืออะไร?

ทุกๆ คนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า หลอดไฟ มีหน้าที่ที่คอยให้แสงสว่างแก่เรา ซึ่งเจ้าอุปกรณ์ชนิดนี้มีต้นกำเนิดมาอย่างยาวนาน

มนุษย์เรานั้นมีวิวัฒนาการในการคิดค้นเครื่องมือที่ช่วยในเรื่องของการให้แสงสว่างมาอย่างนาน ในสมัยก่อนที่จะมีหลอดไฟ เราใช้ความสว่างจากดวงดาว คบเพลิง เทียน และเครื่องปั่นไฟ เป็นต้น จนมาในพุทธศักราช 2443 ได้มีการเริ่มประดิษฐ์หลอดไฟขึ้น จาก  เซอร์ โจเซฟ สวอน ที่ริเริ่มหลอดไฟแบบไส้ ครั้งแรกขึ้นในโลก  ต่อมา ทาง ทอมัส เอดิสัน ได้สามารถสร้างหลอดไฟแบบไส้ขึ้นมาได้บ้าง และนอกจากนั้น ทอมัส เอดิสัน ยังได้พัฒนาระบบไฟฟ้า ขึ้นมา ควบคู่กับหลอดไฟและแจกจ่ายไฟ ไปยังบ้านเรือนต่าง ๆ ทำให้ หลอดไฟของเขาได้รับความนิยม มากกว่า หลอดของ ทางสวอน จนในที่สุด คนทั่วไป เกิดความเข้าใจกันว่า เอดิสัน คือผู้คิดค้น หลอดไฟ เป็นคนแรกของโลก หลอดไฟ ของเอดิสัน ทำจากแท่งคาร์บอน ในปีพุทธศักราช 2453 ได้มีการ คิดค้นไส้หลอดที่ทำจากทังสเตน ขึ้นในโลกในที่สุดค่ะ

อันตรายจากหลอดไฟชนิดต่างๆ ที่คุณอาจจะไม่รู้

หลายๆคนอาจมองข้ามสิ่งเล็กๆ น้อยๆ จากหลอดไฟที่เราใช้กันอยู่แล้ว หลอดไฟมีประโยชน์ในการให้แสงสว่าง แต่จริงๆแล้วข้อเสียของหลอดไฟก็มีเหมือนกันค่ะ วันนี้บทความนี้มีความรู้เรื่องข้อเสียของหลอดไฟ ภัยอันตรายใกล้ตัวคุณมาฝากกันค่ะ

หลอดไฟแสงสีฟ้า (Blue Light Hazard)

แสงสีฟ้า (Blue Light Hazard) คือ แสงสีฟ้าที่อาศัยอยู่รอบตัวเรา เช่น ดวงอาทิตย์ หลอดไฟ คอมพิวเตอร์ Taplet มือถือ โดยแสงสีฟ้าเป็นแสงในกลุ่มพลังงานสูง HEV (High Energy Visible) ซึ่งเป็นกลุ่มแสงที่อยู่ถัดจากกลุ่มแสง UVA สามารถพุ่งทะลุทะลวงเข้าจอประสาทตาหากโดนเข้าเป็นระยะเวลานานจะทำให้จอประสาทตาเสื่อม ว่ากันว่าพวกหลอด Fluorescent ชนิดกลมนั้นปล่อยแสงสีฟ้าในปริมาณสูงอีกด้วย ซึ่งหากเราเจอหลอดที่มีคุณภาพต่ำ เป็นอันตรายต่อสายตาผู้บริโภคจึงต้องใส่ใจและเลือกซื้อ หลอดไฟ LED ชนิดที่มีคุณภาพผ่านการรับรองมาตรฐานด้านการควบคุมปริมาณแสงประเภทต่างๆ ตั้งแต่ แสงอัลตราไวโอเลตที่แผ่รังสีออกมาจากหลอดไฟ ปริมาณแสงสีฟ้า (Blue Light) ที่มีความยาวคลื่นรังสีความร้อนที่กระทบกับจอประสาทตา และรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าแสงที่มองเห็น ที่ล้วนเป็นอันตรายต่อสายตาทั้งสิ้นค่ะ

หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent lamp)

หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent lamp) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป ให้แสงสว่างนวลสบายตา มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดแบบมีไส้ (Incandescent lamp) ถึง 8 เท่า และให้ความสว่างมากกว่าในกำลังวัตต์ที่เท่ากัน อย่างไรก็ดี เจ้าหลอดไฟชนิดนี้มีส่วนประกอบหลัก คือ แก้ว ส่วนที่เหลือ ประกอบด้วย ขั้วหลอดทำจากอลูมิเนียม ผงฟอสเฟอร์สำหรับเคลือบผิวหลอดเพื่อการเรืองแสง นอกจากนี้ ภายในหลอดยังบรรจุด้วยสารปรอท จึงทำให้ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว ถือเป็นของเสียอันตราย ทั้งนี้ยังมีสารก่อมะเร็งอื่นๆ รวมถึงรังสี UV อีกด้วย

วิธีสังเกตหลอดไฟเสีย

  1. ตรวจหลอดไฟ

อาการที่พบบ่อยจะเป็นการเสื่อมสภาพของหลอด สังเกตได้จากมีสีดำที่ขั้วหลอด หรือถ้าหากเปิดไม่ติดแต่พอดูที่ขั้วยังไม่ดำก็อาจจะหมุนหลอดไฟออกมาแล้วใส่ลงไปใหม่ ขั้วอาจจะหลวมก็ได้ หรือจะลองสลับไปใช้ที่ชุดอื่นก็ได้

  1. ตรวจสตาร์ตเตอร์

อุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่สามารถดูจากภายในได้ว่าเสียหรือไม่ ต้องทดลองสลับการใช้งานกับหลอดไฟชุดอื่นดู ถ้าไม่ติดก็แสดงว่าเสียต้องหามาเปลี่ยน

  1. ตรวจบัลลาสต์

เมื่อต้องการตรวจสอบดูว่าบัลลาสต์ขาดหรือไม่ จะต้องใช้ไขควงวัดไฟที่ขั้วบัลลาสต์ เมื่อแตะที่ขั้วทั้งสองแล้วมีไฟถือว่าปกติดี แต่ถ้าไม่มีไฟแสดงว่าบัลลาสต์ เสียให้หามาเปลี่ยนใหม่ และถ้ามีกลิ่นไหม้ออกมาก็ต้องเปลี่ยนใหม่เช่นกัน

คำถามที่พบบ่อย

ทำอย่างไรหากหลอดไฟแตก

จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า เนื่องจากสารปรอทที่อยู่ในหลอดไฟนั้นเมื่อหลอดไฟแตก การที่สารปรอทจะเข้าสู่ร่างกายได้นั้นมีทั้งทางปาก การสูดเอาผงหรือไอปรอทเข้าสู่ปอดเพราะปรอทสามารถระเหยกลายเป็นไอได้

  • เร่งระบายอากาศบริเวณนั้นให้มีอากาศไหลเวียน หรือถ่ายเทได้มากที่สุด เปิดประตู หน้าต่าง
  • กำจัดชิ้นส่วนหลอดไฟที่แตกโดยการสวมถุงมือยางแบบหนา เพื่อป้องกันอันตรายการหลอดไฟที่แตก แต่ห้ามใช้เครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาดหรือกำจัดสารปรอท เนื่องจากสารปรอทจะอยู่ในเครื่องดูดฝุ่น
  • หากปรอทมากระจายอยู่ตามพื้นให้นำกระดาษแข็งกวาดใส่ภาชนะ แล้วเช็ดพื้นให้สะอาดด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ
  • สำหรับการกำจัดหลอดไฟแตกนั้นควรนำใส่ถุงขยะแยกออกจากขยะประเภทอื่นๆ และนำไปทิ้งในถังขยะที่จัดเตรียมไว้สำหรับขยะอันตรายหรือขยะมีพิษ

หลอดไฟกะพริบ ติดๆ ดับๆ เกิดจากอะไร?

ไฟกะพริบ ไม่เพียงแต่ให้แสงสว่างที่ไม่เพียงพอต่อเจ้าของบ้านเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้รู้สึกไม่สบายสายตาตลอดการใช้งาน ซึ่ง ปัญหาไฟกะพริบ เป็นปัญหาที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟ LED หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่ใช้มานานหรือเพิ่งเปลี่ยนใหม่

หลอดไฟค้าง อันตรายหรือไม่?

  • หากเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งมีสารฟอสเฟอร์สีขาวเคลือบอยู่ภายในหลอด สารนี้จะมีคุณสมบัติหน่วงการเรื่องแสง จึงทำให้เห็นแสงสว่างต่อเนื่องไม่กะพริบ และอาจยังเห็นหลอดเรืองแสงอยู่นานชั่วครู่ได้หลังจากปิดสวิตช์ไฟแล้ว
  • หากการเรื่องแสงนั้นนานมาก ก็อาจเกิดจากการติดตั้งสายไฟที่ผิดพลาด โดยแทนที่จะเอาสายเส้นไฟ ไปต่อกับสวิตช์ก่อน แล้วจึงเดินสายไฟไปยังหลอดไฟ แต่กลับเอาสายเส้นไฟเดินไปที่หลอดไฟก่อนแล้วค่อยเดินไปต่อกับสวิตช์ ฉะนั้น เมื่อเราปิดสวิตช์ไฟ กระแสไฟจึงยังคงเดินไปตามสายกระแสเพื่อเลี้ยงหลอดไฟอยู่ หลอดไฟจึงดูเรืองแสง การแก้ไขควรให้ช่างไฟฟ้าผู้ชำนาญการมาจัดการแก้ไข และเดินสายไฟใหม่ให้ เพื่อความปลอดภัยจากการโดนไฟดูดได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของเรา และประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย

ไฟบ้านตกบ่อย เกิดจากหลอดไฟ หรือ สายไฟ

สาเหตุของไฟบ้านตกบ่อย เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ได้มาจากการไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว โดยส่วนใหญ่จะมีปัญหาจากสายไฟมากกว่าหลอดไฟ ซึ่งมีสาเหตุที่เกิดปัญหาได้ ดังนี้

  • จุดเชื่อมต่ออาจจะหลวม ในส่วนของสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบไฟฟ้าในบ้าน หรืออาคาร
  • มีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อม ๆ กัน ทำให้กำลังไฟที่จ่ายมามีไม่เพียงพอ
  • มีการเดินสายไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือเหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งาน ทำให้กระแสไฟไม่เพียงพอ
  • มีสายไฟฟ้าภายในบ้าน หรืออาคารที่ชำรุด ทำให้เกิดการสูญเสียแรงดันไฟฟ้าอยู่ตลอด

อย่างไรก็ดี แสงไฟ เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในทุกๆ วัน หากเกิดปัญหากับจนใช้งานไม่ได้ ก็คงจะทำให้การใช้ชีวิตยากขึ้นหลายเท่า แต่ถ้าหากเราดูแลสภาพหลอดไฟเป็นอย่างดี ก็จะยิ่งเพิ่มความสะดวกสบายให้กับชีวิตของเรา แต่หากไม่สันทัดเรื่องของหลอดไฟต่างๆ แนะนำให้ปรึกษาช่างไฟที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของตัวคุณเองค่ะ